• หน้าแรก

  • Knowledge

  • บทลงโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ของไทย

บทลงโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ของไทย

  • หน้าแรก

  • Knowledge

  • บทลงโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ของไทย

บทลงโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ของไทย



PDPA มีการกำหนดบทลงโทษเอาไว้ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาทั้งหมด!! โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. โทษทางแพ่ง มีการกำหนดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิด บวกกับ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มเติมสูงสุดเป็น 2 เท่าของค่าเสียหายจริง
         ค่าสินไหมทดแทน + (ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ x 2)

เท่ากับว่า หากศาลตัดสินให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 10 ล้านบาท ศาลอาจจะกำหนดค่าสินไหมเพื่อการลงโทษเพิ่มอีก 20 ล้านบาท รวมเป็น 30 ล้านบาท!!!

         ค่าสินไหมทดแทน + (ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ x 2)

                     10,000,000 + (10,000,000 x 2) = 30,000,000

  1. โทษทางอาญาของ PDPA มี 2 โทษคือ โทษจำคุก และ โทษปรับ ถึงตรงนี้หลายคนคงจะงงว่า หากผู้กระทำผิดเป็นบริษัท (นิติบุคคล) แล้ว บริษัทจะได้รับโทษจำคุกได้ยังไง คำตอบคือ กรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ นั่นแหละ ที่อาจจะได้รับโทษจำคุก และโทษอาญาที่สูงที่สุดของ PDPA คือ โทษจำคุก 1 ปี หรือปรับ 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษสูงสุดนี้มาจากการใช้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปต่างประเทศในส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล sensitive ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ PDPA เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโทษปรับนี้เป็นคนละส่วนต่างหากจากการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งที่กล่าวในข้อ 1 ข้างต้น
  2. โทษทางปกครองของ PDPA คือโทษปรับเป็นตัวเงิน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ล้านบาทไปจนถึง 5 ล้านบาท โดยกรณีที่จะโดนโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาทนี้ คือกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปต่างประเทศในส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล sensitive และแน่นอนว่า โทษปรับนี้เป็นคนละส่วนต่างหากจากการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งและโทษปรับทางอาญา

            หมายความว่า หากมีการละเมิดข้อกำหนดของ PDPA อาจจะโดนบทลงโทษทั้ง 3 ประเภทนี้พร้อมกันได้

Another Service

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้นอย่างมาก PDPA Plus จึงมีบริการตรวจสอบภายในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ตามพระราชบัญญัติ การรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อป้องกัน การถูกโจมตีทางไซเบอร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีการประกาศใช้
2903 ผู้เข้าชม
Data Governance คือ การวางนโยบายในการกำกับดูแลข้อมูล โดยจะต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ วางกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลตาม Life-cycle และกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อบริหารข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไป หรือ ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อมีการกำกับดูแลข้อมูลที่ดี
2257 ผู้เข้าชม
เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการพิจารณาเปลี่ยนแปลงการทำงานโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA)
7251 ผู้เข้าชม
Penetration Testing
2128 ผู้เข้าชม
Vulnerability Assessment
3656 ผู้เข้าชม
เราให้บริการ DPO จากผู้ให้บริการภายนอก (outsourced DPO services) ที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น เข้าใจธุรกิจ มีประสบการณ์ และ สามารถช่วยองค์กรจัดการด้านข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
5041 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์